เมนู

กรรมปถวรรคที่ 7


ธรรมที่นำให้เกิดในนรก - สวรรค์ 4


[264] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ ตนเอง
เป็นผู้ฆ่าสัตว์ 1 ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ 1 พอใจในการฆ่าสัตว์ 1 กล่าว
สรรเสริญคุณการฆ่าสัตว์ 1 บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล
ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อมเกิด
ในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ
ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 1 ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 1
พอใจในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 1 กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ 1 บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์
เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.
[265] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 4 ประการ
ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ ตนเอง
เป็นผู้ลักทรัพย์ 1 ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ 1 พอใจในการลักทรัพย์ 1
กล่าวสรรเสริญคุณการลักทรัพย์ 1 บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล
ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ย่อม
เกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม 4 ประการเป็นไฉน คือ
ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ 1 ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ 1

พอใจในการงดเว้นจากการลักทรัพย์ 1 กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจาก
การลักทรัพย์ 1 บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมเกิดใน
สวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.
[266] ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม 1 ชักชวนผู้อื่นในการ
ประพฤติผิดในกาม 1 พอใจในการประพฤติผิดในกาม 1 กล่าวสรรเสริญคุณ
การประพฤติผิดในกาม 1 ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้น จากการประพฤติผิดใน
กาม 1 ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม 1 พอใจในการ
งดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม 1 กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
[267] ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ 1 ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ 1 พอใจ
ในการพูดเท็จ 1 กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเท็จ 1 ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้น
จากการพูดเท็จ 1 ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเท็จ 1 พอใจในการ
งดเว้นจากการพูดเท็จ 1 กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเท็จ 1 ฯลฯ
[268] ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด 1 ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด 1
พอใจในการพูดส่อเสียด 1 กล่าวสรรเสริญคุณการพูดส่อเสียด 1 ฯลฯ
ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด 1 ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการ
พูดส่อเสียด 1 พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด 1 กล่าวสรรเสริญคุณ
การงดเว้นจากพูดส่อเสียด 1 ฯลฯ
[269] ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ 1 ชักซวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ 1
พอใจในการพูดคำหยาบ 1 กล่าวสรรเสริญคุณในการพูดคำหยาบ 1 ฯลฯ
ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ 1 ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการ
พูดคำหยาบ 1 พอใจในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ 1 กล่าวสรรเสริญคุณ
การงดเว้นจากการพูดคำหยาบ 1 ฯลฯ

[270] ตนเองเป็นผู้พูดคำเพ้อเจ้อ 1 ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ
1 พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ 1 กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเพ้อเจ้อ 1 ฯลฯ
ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 1 ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการ
พูดเพ้อเจ้อ 1 พอใจในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 1 กล่าวสรรเสริญคุณ
การงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ 1 ฯลฯ
[271] ตนเองเป็นผู้มากไปด้วยความโลภ 1 ชักชวนผู้อื่นในความ
โลภ 1 พอใจในความโลภ 1 กล่าวสรรเสริญคุณความโลภ 1 ฯลฯ ตนเอง
เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความโลภ 1 ชักชวนผู้อื่นในความไม่โลภ 1 พอใจใน
ความไม่โลภ 1 กล่าวสรรเสริญคุณความไม่โลภ 1 ฯลฯ
[272] ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท 1 ชักชวนผู้อื่นในความ
พยาบาท 1 พอใจในความพยาบาท 1 กล่าวสรรเสริญคุณความพยาบาท 1
ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท ชักชวนผู้อื่นความไม่พยาบาท 1
พอใจในความไม่พยาบาท 1 กล่าวสรรเสริญคุณความไม่พยาบาท ฯลฯ
[273] ตนเองเป็นผู้มีความเห็นผิด 1 ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด 1
พอใจในความเห็นผิด 1 กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นผิด 1 ฯลฯ ตนเอง
เป็นผู้มีความเห็นชอบ 1 ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ 1 พอใจในความ
เห็นชอบ 1 กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นชอบ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมา
ประดิษฐานไว้.
จบกรรมปถวรรคที่ 7

กรรมปถวรรควรรณนาที่ 7


พึงทราบวินิจฉัยในกรรมปถวรรค ดังต่อไปนี้ :-
กรรมบถแม้ 10 ท่านกล่าวคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ราคเปยยาล
ท่านกล่าวให้บรรลุถึงพระอรหัต. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถากรรมปถาวรรควรรณนาที่ 7
จบอรรถกถาจตุกนิบาตแห่งอังคุตตรนิกาย ชื่อมโนรถปูรณี

พระสูตรที่ไม่นับเป็นปัณณาสก์



ธรรมเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ 4 ประการ


[274] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการควรเจริญ เพื่อ
ความรู้ยิงซึ่งราคะ 4 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้ 1 ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา... 1 ย่อม
พิจารณาเห็นจิตในจิต... 1 ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1 ธรรม 4
ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 4 ประการ
ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ 4 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
ตั้งจิตไว้เพื่อไม่ให้อกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น 1 ... เพื่อละอกุศลบาป-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 1 เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น 1 ย่อมยังฉันทะให้เกิด